วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2557

แนวโน้มของรูปแบบการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

แนวโน้มของรูปแบบการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้


โครงสร้างองค์กร  หมายถึง การจัดระบบในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้โดยการจัดสรรทรัพยากร การแบ่งหน้าที่ในแต่ละฝ่าย ซึ่งการจัดเป็นรูปต่างๆ กันเพื่อให้การบริหารงานบรรลุจุดมุ่งหมาย

องค์กรแบบสิ่งมีชีวิต (Organic Organization) ได้แก่
  1. โครงสร้างยืดหยุ่น (Flexible Structure) ไม่ติดยึดกับโครงสร้างที่ตายตัวแบบองค์การแบบเครื่องจักร มีการปรับโครงสร้างให้เข้ากับสภาพแวดล้อมการทำงาน
  2. มีการกระจายอำนาจ (Decentralization) ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
  3. มีการทำงานเป็นทีม(Team Work) ร่วมมือกัน
  4. เน้นผลงานมากกว่ากฎระเบียบ (Performance –Oriented) กฎ ระเบียบ จะกำหนดเท่าที่จำเป็น ถือว่าเป็นเพียงเครื่องมือในการทำงาน
  5. การติดต่อสื่อแบบไม่เป็นทางการ (Informal Communication) สมาชิกติดต่อได้ทุกระดับโดยตรง ไม่ต้องผ่านโครงสร้างสายการบังคับบัญชา
กระบวนการจัดการแบบ 5s Model  หมายถึง การจัดระเบียบของการทำงานในลักษณะขององค์กรสมัยใหม่ที่มีความยืดหยุ่นในการทางานมากขึ้น ซึ่งประกอบด้วย Small, Smart, Smile, Simplify, Smooth ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
  1. Small  คือ เป็นองค์การขนาดเล็ก แต่เป็นองค์กรที่มีคุณภาพ 
  2. Smart คือ ดูดี ดูเท่ห์ ดูน่าเชื่อถือ ใช้คำว่า ฉลาดเพียบพร้อมด้วยภูมิปัญญา การจะทำให้เท่ห์ต้องมี ISOมีการประกันคุณภาพในระบบของ QA และกิจกรรมอื่นเช่น 5 ส. , TQA
  3. Smile คือ ยิ้มแย้มแจ่มใส เปี่ยมด้วยน้าใจ ฉะนั้นคนในองค์การจะต้องทำงานอย่างมีความสุข ความสุขมีอยู่ 2 ฝ่าย
                            1 ) คนทำงานมีความสุข
                            2 ) ลูกค้าผู้รับการบริการ โดยเริ่มที่พนักงานก่อนแล้วออกแบบองค์การให้เป็นองค์การที่มีความสุข สนุกในงานที่ทำมีความสุขยิ้มแย้มแจ่มใส ทำงานด้วยใจรัก รักงานอยากจะมาทำงาน
  4. Smooth คือ ไม่พูดเรื่องการขัดแย้ง จะพูดเรื่องการผนึกกำลังการทำงานเป็นทีมเพื่อให้ประสบความสำเร็จ
  5. Simplify คือ ทำเรื่องสลับซับซ้อนให้เป็นเรื่องง่ายหรือทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ทำเรื่องที่ไม่สะดวกให้สะอาด ทำเรื่องที่ช้าให้เร็วขึ้น
ลักษณะขององค์การแบบเครือข่าย (Network organization) 
  1. ความยืดหยุ่น Flexible แต่ละองค์การที่มีความหลากหลายที่มารวมตัวกันบางครั้งมาจากหน่วยงานภายในองค์การเดียวกันที่มาเชื่อมโยงกัน /มาจากต่างองค์การ
  2. Assemble by brokers อาจมีตัวแทนหรือการoutsource
  3. Team –base ทำงานเป็นทีม
  4. Flat org. โครงสร้างเป็ แบบแนวราบเน้นการเจรจาประสานงานกันมากกว่าโครงสร้างสายการบังคับบัญชา
  5. ใช้ IT มาเชื่อมโยงเพื่อการประสานงานหรือรวมกลุ่มหรือประสานงานเป็นไปโดยอัตโนมัติ
  6. ขอบเขตไม่ชัดเจน
แนวโน้มของการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในอนาคต
  • มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการจัดการและให้บริการมากขึ้น
  • มีการจัดการแบบองค์กรสมัยใหม่
  • ให้บริการในรูปแบบ ศูนย์ศึกษาบันเทิง กล่าวคือเป็น แหล่งการเรียนรู้ที่รวบรวมรวมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการที่หลากหลายแบบมาบูรณาการ โดยป็นลักษณะแบบทั่วไปที่เน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชน ซึ่งประกอบด้วย การเรียนรู้ การลงมือปฏิบัติ ด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน ที่พัฒนา และส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองและเป็นแหล่งการเรียนรู้นอกห้องเรียน

นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

 
แบ่งได้ 2 ประเภท คือ

1. ระเบียบกฎหมายที่เป็นข้อกำหนดการปฏิบัติงาน
2. ระเบียบกฎหมายที่เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติมิให้ล่วงละเมิดการกระทำผิด  

การนำภาพจากสื่อสิ่งพิมพ์ อินเทอร์เน็ต มาประกอบการผลิตสื่อการสอน
ภาพที่ไม่มีลิขสิทธิ์
  • การนำภาพที่ไม่มีลิขสิทธิ์มาประกอบในการผลิตสื่อการสอน ไม่ต้องมีการขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์
  • รูปภาพและภาพถ่ายใช้ได้อย่างน้อย 1 ภาพแต่ไม่เกิน 5 ภาพ ต่อผู้สร้างสรรค์ 1 ราย หรือ ร้อยละ 10 ของจำนวนภาพของผู้สร้างสรรค์ 1 ราย (แล้วแต่ว่าจำนวนใดน้อยกว่ากัน)
  • ผู้สอนและผู้เรียนดาวน์โหลดภาพจากอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ในการศึกษาได้ในปริมาณเท่ากับ อย่างน้อย 1 ภาพแต่ไม่เกิน 5 ภาพ ต่อผู้สร้างสรรค์ 1 ราย หรือ ร้อยละ 10 ของจำนวนภาพของผู้สร้างสรรค์ 1 ราย (แล้วแต่ว่าจำนวนใดน้อยกว่ากัน)แต่จะอัพโหลดงานนั้นกลับขึ้นบนอินเทอร์เน็ตไม่ได้ หากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
ภาพที่มีลิขสิทธิ์
  • หากภาพประกอบนั้นมีการถ่ายภาพมาโดยมีการสร้างสรรค์โดยใช้ความคิด ความพยายามในการจัดแสง มุมมองภาพที่แปลก หรือปรับแต่งภาพให้สื่อความหมายในรูปแบบต่าง ๆ แสดงว่าภาพนั้นเป็นภาพที่มีลิขสิทธิ์
  • การนำภาพที่มีลิขสิทธิ์มาประกอบในการผลิตสื่อการสอน ต้องมีการขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธ
  • การนำภาพที่มีลิขสิทธิ์จากสื่ออินเทอร์เน็ต หรือสื่ออื่น ๆ นั้นมาดัดแปลงตกแต่งใหม่ เพื่อไม่ให้ซ้ำกับของเดิมแสดงว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
การสำเนาโดยการถ่ายเอกสารจากหนังสือทั้งเล่มเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่ เพราะเหตุใด
การสำเนาโดยการถ่ายเอกสารหนังสือทั้งเล่มนั้น เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะขัดต่อการได้รับประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์หนังสือเล่มนั้น

สัญลักษณ์            

หมายถึง เมื่อนำผลงานไปเผยแพร่ ดัดแปลง ควรอ้างอิงแหล่งที่มา โดยไม่นำไปใช้เพื่อการค้าและยินยอมให้ผู้อื่นนำเนื้อหาไปใช้ต่อได้ด้วยสัญญาอนุญาตแบบเดียวกันนี้

การใช้สัญลักษณ์ สัญญาอนุญาตด้านลิขสิทธิ์สากลครีเอทีฟคอมมอนส์

  • เป็นการกาหนดสัญลักษณ์ทางลิขสิทธิ์เพื่อง่ายต่อความเข้าใจ และแนวทางปฏิบัติเพื่อไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์ในสากล
  • การใช้สัญลักษณ์สัญญาอนุญาตด้านลิขสิทธิ์สากลครีเอทีฟคอมมอนส์ http://onopen.com/สงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-Noncommercial-Share Alike 3.0 UnportedLicense.เมื่อนำผลงานไปเผยแพร่ ดัดแปลง ควรอ้างอิงแหล่งที่มา โดยไม่นำไปใช้เพื่อการค้าและยินยอมให้ผู้อื่นนำเนื้อหาไปใช้ต่อได้ด้วยสัญญาอนุญาตแบบเดียวกันนี้
  • การใช้สัญลักษณ์สัญญาอนุญาตด้านลิขสิทธิ์สากลครีเอทีฟคอมมอนส์ http://www.thaihealth.or.th/
    สงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-Noncommercial-Share Alike 3.0 UnportedLicense.เมื่อนำผลงานไปเผยแพร่ ดัดแปลง ควรอ้างอิงแหล่งที่มา โดยไม่นำไปใช้เพื่อการค้าและยินยอมให้ผู้อื่นนำเนื้อหาไปใช้ต่อได้ด้วยสัญญาอนุญาตแบบเดียวกันนี้
  • ตัวอย่าง


  • สาระของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

                   มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน การเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                    มาตรา 6 ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                    มาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                    มาตรา 8 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                    มาตรา 9 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                     มาตรา 10 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                      มาตรา 11 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

คุณลักษณะของผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

คุณลักษณะของผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้



ผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึง
             บุคคลที่ทำหน้าที่งานบริหารที่ดูแล ควบคุม สั่งการ แก้ปัญหา ให้งานในระดับปฏิบัติการดำเนินต่อไปให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้นั้น ๆ โดยตำแหน่งผู้จัดการศูนย์ มักเรียกเป็นผู้อำนวยการ หัวหน้า หรืออื่น ๆ ที่สื่อความหมายถึงผู้นำศูนย์ฯ นั้น ๆ
คุณลักษณะของผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
             1. ผู้กำหนดทิศทาง (Direction-setter) ผู้จัดการศูนย์ฯ จะต้องมีความสามารถในการ
ชี้ทิศทางในการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีไปบูรณาการในการให้บริการจัดการศูนย์ทรัพยากร
การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

             2. ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) ผู้จัดการศูนย์จะต้องเป็นผู้ที่สามารถนำ
การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและสร้างการยอมรับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีไปใช้ในระบบการเรียน
การสอน สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างจริงจังสามารถลดการต่อต้านต่อการยอมรับ
สิ่งใหม่ ๆ ที่จะเข้าไปมีบทบาทในการสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ในระบบการเรียนการสอนหลักการของผู้นำในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ
             3. โฆษก (Spokesperson) ผู้จัดการศูนย์ฯ ต้องมีความสามารถเผยแพร่วิสัยทัศน์ของตนสามารถเจรจาหรือต่อรองกับผู้บริหารระดับต่างๆ หรือต่อองค์กรภายนอกเพื่อสร้างเครือข่ายในการทำงานเพื่อประโยชน์ในการพัฒนางานศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ให้ก้าวหน้าต่อไป
             4. ผู้ฝึกสอน (Coach) ผู้จัดการศูนย์ ฯ ต้องมีความสามารถในการสร้างทีมงานขึ้นมาเพื่อนำวิสัยทัศน์ของตนไปสู่การปฏิบัติต้องรู้จักสอนให้คาปรึกษาให้คำแนะนาสร้างความไว้วางใจให้อานาจแก่ผู้ที่จะร่วมงาน

             5. วิทยากร (Trainer) ผู้จัดการศูนย์ ฯ ต้องทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ไปยังทีมงาน โดยมุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม ทั้งความรู้ เจตคติ และทักษะในการพัฒนาศูนย์ฯ ให้บรรลุเป้าหมายของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้นั้น ๆ

หลักการของผู้นาในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ

             1. ความรอบรู้แห่งตน (Personal mastery) ผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จะต้องพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ในความก้าวหน้าแห่งศาสตร์อยู่เสมอเช่นเดียวกับต้องพัฒนาวิสัยทัศน์ในการสร้างสรรค์วิชาชีพของตนเอง

             2. แบบแผนการคิดอ่าน (Mental models) ผู้จัดการศูนย์ฯ จะต้องมีทักษะการคิดอย่างใคร่ครวญ (Reflection) เพื่อเป็นการตรวจว่าความคิดใดความเชื่อใดมีผลดีผลเสียต่อการปฏิบัติงานในวิชาชีพซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ดีที่สุด
             3. วิสัยทัศน์ร่วม (Shared vision) ผู้จัดการศูนย์ฯ ต้องรู้จักการสานวิสัยทัศน์กับบุคคลอื่นๆ ในองค์กรเพื่อที่จะหาจุดร่วมที่ดีที่สุด และสร้างความเท่าทันในทิศทางที่จะก้าวไปข้างหน้า

             4. การเรียนรู้เป็นทีม (Team learning) ผู้จัดการศูนย์ฯ ต้องรู้จักการสร้างการเรียนรู้เป็นทีมที่สมาชิกในทีม ต้องมีความสามารถในการคิดตีปัญหาหรือประเด็นในกระจ่าง อีกทั้งภายในทีมต้องรู้จักประสานกันอย่างดีคิดในสิ่งใหม่และแตกต่างไว้วางใจซึ่งกันและกัน สมาชิกทุกคนต้องมีการสร้างระบบการเรียนรู้แบบต่อเนื่องสิ่งเหล่านี้ย่อมนำไปสู่การสร้างสรรค์งานด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

             5. การคิดอย่างเป็นระบบ (System thinking) ผู้จัดการศูนย์จะต้องมีวิธีการคิดที่เห็นภาพระบบการศึกษา ระบบการเรียนการสอนรวม ระบบการให้บริการสื่อไปถึงระบบสังคมโดยรวมเห็นทั้งหมดมีกรอบที่เห็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันมากกว่าที่จะเห็นในเชิงเหตุเชิงผลเห็นแนวโน้มมากว่าที่จะเห็นแค่ฉาบฉว ยเพื่อที่จะสามารถนำมาวางแผนเทคโนโลยีให้แก่ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ศึกษาดูงานการให้บริการสำนักหอสมุด

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูร


ประวัติ

           สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นหน่วยงานส่งเสริมวิชาการของมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการ สารสนเทศเพื่อการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย พัฒนามาจากห้องอ่านหนังสือ ซึ่งเปิดบริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 โดยใช้ห้องเลขที่ 203 ในอาคารเรียนของวิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 ห้องสมุดได้ย้ายมาอยู่อาคารอำนวยการ โดยได้ใช้ห้องชั้นล่างของอาคารเป็นที่ปฏิบัติงานจนถึงปี พ.ศ. 2503 วิทยาลัยได้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่เสร็จเรียบร้อย ห้องสมุดได้ย้ายอีกครั้งมาอยู่ในห้องโถงชั้นล่างของอาคารเรียนซีกหนึ่ง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2516 วิทยาลัยได้งบประมาณก่อสร้างอาคารหอสมุดเป็นเอกเทศ มีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น และเปิดใช้เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2516

           เมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการเปลี่ยนฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ วิทยาเขตบางแสน และมหาวิทยาลัยบูรพา ตามลำดับนั้น ในปีงบประมาณ 2536-2539 สำนักหอสมุดได้รับงบประมาณการก่อสร้างอาคารสำนักหอสมุดหลังใหม่สูง 7 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 11,500 ตารางเมตร และได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ “อาคารเทพรัตนราชสุดา” และเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2538
ปรัชญา

            ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาสังคม

ปณิธาน

            ก้าวสู่ความเป็นเลิศทางการให้บริการสารสนเทศ พร้อมกับมุ่งมั่นให้บริการดัวยความสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ น่าเชื่อถือ ด้วยความมีมิตรไมตรีี

วิสัยทัศน์

            มุ่งพัฒนาสู่ความเป็นเลิศในการให้บริการสารสนเทศ ด้วยบุคลากรที่มีคุณภาพและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อความเป็นมาตรฐานสากล

ภารกิจหลัก

           1.จัดสำนักหอสมุดให้เป็นศูนย์รวมวิชาการในรูปแบบของศูนย์บริการสารสนเทศ ในทุกรูปแบบ ตลอดจนเป็นศูนย์บริการเทคโนโลยีทางการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้า และการวิจัยของนิสิตอาจารย์ และบุคลากรอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัย
           2. พัฒนาสำนักหอสมุดให้เป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ และห้องสมุดดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบ
           3.ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยโดย พัฒนาเครือข่ายห้องสมุดของมหาวิทยาลัยบูรพา (Burapha University Library Network)
           4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรสำนักหอสมุดผลิตผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาการดำเนินงานและการให้บริการสารสนเทศ
           5. พัฒนากลไกการประกันคุณภาพการดำเนินงานและการให้บริการของสำนักหอสมุด

เป้าหมายการดำเนินงาน

           1. เพื่อสนับสนุนด้านวิชาการของมหาวิทยาลัย ให้บรรลุตามภารกิจหลัก 4 ประการ คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแก่ชุมชน และการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
           2. เพื่อจัดหาและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ
           3. เพื่อจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศให้ผู้ใช้เข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และตรงตามความต้องการโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
           4. เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน

พันธกิจ

           สำนักหอสมุด มีหน้าที่หลักในการสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัยในมหาวิทยาลัยบูรพา โดยการจัดหา จัดเก็บ จัดระบบ บำรุงรักษา และให้บริการสารสนเทศทางวิชาการในทุกรูปแบบ ตลอดจนพัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และห้องสมุดดิจิทัล สำนักหอสมุดให้บริการเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมี ประสิทธิภาพ เป็นมาตรฐานสากล สามารถเชื่อมโยงการดำเนินงานและการให้บริการในลักษณะเครือข่ายห้องสมุดทั้ง ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในระดับชาติและนานาชาติ โดยเน้นการให้บริการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดด้วยความสะดวก รวดเร็ว และจิตสำนึกในการให้บริการที่ดี

โครงสร้างองค์กรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา
          หลักการดำเนินงานของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา มีหลักการจัดการ โดยการใช้คน ทรัพยากร เทคนิคต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ หรือแผนงานที่วางไว้

ทรัพยากรในการจัดการ ตามหลัก  4MA  2MO 1ME 
           
           1. Man : คน
           2. Materials : วัสดุ
           3. Machine : เครื่องจักร
           4. Market : การตลาด/การประชาสัมพันธ์
           5. Money : งบประมาณ
           6. Moral : ขวัญ กำลังใจ
           7. Method : วิธีการ

กระบวนการบริหารจัดการ (POSDC0RB)

           1. การวางแผน Planing
           2. โครงสร้างองค์กร Organizing
           3. จัดคนเข้าทำงาน Staffing
           4. อำนวยการ/การสั่งการ Directing
           5. การประสานงาน Co-ordination
           6. การรายงาน Reporting
           7. งบประมาณ Budgeting

แหล่งข้อมูล : http://www.lib.buu.ac.th/webnew2/