วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประเภทของทรัพยากรการเรียนรู้

1. ข่าวของมหาวิทยาลัยบูรพาในหน้าหนังสือพิมพ์จัดอยู่ในประเภทของทรัพยากรการเรียนรู้ใด และมีชื่อเรียกว่าอะไร
                จัดอยู่ในประเภทของสื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ตีพิมพ์ คือ สิ่งพิมพ์ที่มีการบันทึกความรู้ ความคิดของมนุษย์นำมารวบรวมเป็นเล่ม ให้ผู้อ่านได้ศึกษาค้นคว้าและใช้อ้างอิง โดยจะจัดอยู่ในสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง คือ สิ่งพิมพ์ที่ออกต่อเนื่องกันตามกำหนดเวลาที่กำหนดไว้

2. ถ้าต้องการคัดเลือกสื่อวีดิทัศน์มาให้บริการนิสิตจะมีหลักการอย่างไรในการคัดเลือกสื่อดังกล่าว

-  กำหนดเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดเลือกทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละประเภทให้ชัดเจน
 - ต้องสัมพันธ์กับหลักสูตรการเรียนการสอนในสถานศึกษานั้น ๆ
 - เนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ นำเสนอเนื้อหาได้ดีเป็นลำดับขั้นตอน
 - เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์
 - สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ไม่ตีพิมพ์ สะดวกในการใช้ ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
-  สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ไม่ตีพิมพ์ มีคุณภาพ มีเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนและเป็นจริง
-  สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ไม่ตีพิมพ์ ราคาไม่แพงเกินไป
-  สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ไม่ตีพิมพ์ ถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน
3. การจัดซื้อทรัพยาการเรียนรู้มีกี่วิธีการ อะไรบ้าง
1. จัดซื้อ ตามความต้องการของหน่วยงานเป้าหมายที่จะมาใช้บริการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ได้แก่
1.1 สั่งซื้อโดยตรง : ในประเทศ / ต่างประเทศ
1.2 สั่งซื้อผ่านร้าน/ตัวแทนจาหน่าย : ในประเทศ / ต่างประเทศ
1.3 เว็บไซต์ : ในประเทศ / ต่างประเทศ
1.4 จัดซื้อในรูปภาคีร่วมกับศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ
2. รับบริจาค : องค์กร/หน่วยงานที่ต้องการเผยแพร่ข้อมูล บุคคล
3. ผลิตเอง : วีดิทัศน์ ภาพถ่าย บันทึกการประชุม/สัมมนา สแกนภาพ
4. แลกเปลี่ยน : ในการให้บริการระหว่างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในเครือข่าย


การรายงานผลมีความสำคัญอย่างไร ต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

รายงานผลการตรวจสอบผลการดำเนินงาน เป็นเอกสารสำคัญในการบริหารงานคุณภาพที่ผู้ทำหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบต้องจัดทำบันทึกและเก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบรายงานผลการตรวจสอบผลการดาเนินงาน ประกอบด้วย

1. ปกรายงาน ได้แก่
-ชื่อศูนย์ "ศูนย์สื่อและเทคโนโลยีการศึกษา"
-ชื่อหน่วยงาน "ฝ่ายผลิตสื่อ"
-รายงานผลการตรวจสอบเรื่อง"กระบวนการผลิตสื่อ"
-เป็นเอกสาร.........
-วันที่เริ่มตรวจ
-วันที่ตรวจเสร็จ
-ระยะเวลาการตรวจสอบ...................วัน
-รายชื่อคณะกรรมการผู้ตรวจสอบ
2. เรื่องในรายงาน ประกอบด้วย
-บทสรุปผลการตรวจสอบ
-รายงานความเห็นของคณะกรรมการผู้ตรวจสอบ
3. รายละเอียดประกอบการรายงาน ได้แก่
-ใบมอบหมายให้ทำการตรวจสอบ
-กำหนดการตรวจสอบ
-บันทึกการตรวจสอบ
-สำเนาเอกสารผลการตรวจสอบครั้งล่าสุด
-ใบรายงานผลการตรวจสอบครั้งล่าสุด
-ใบรายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงาน

                การรายงานผลการดำเนินงานการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นส่วนสำคัญในการแสดงข้อมูลอย่างเป็นระบบให้กับผู้บังคับบัญชา หรือสาธารณชนได้รับทราบผลการดำเนินงาน และเป็นการนำเสนอเพื่อปรับปรุงในการดำเนินงานครั้งต่อ ๆ ไป


การประสานงาน CO-ORDINATION

1. สิ่งสำคัญเบื้องต้นของการประสานงานมีอะไรบ้าง
                1.การจัดวางหน่วยงานที่ง่ายและเหมาะสม (Simplified Organization)
การจัดวางหน่วยงานที่ง่าย (Simplified Organization) ในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้การจัดวางหน่วยงานควรคำนึงถึง
ก.การแบ่งแผนกซึ่งช่วยในการประสานงาน กล่าวคือ การจัดแผนกต่าง ๆ บางแผนกมีความจาเป็นต้องประสานกันควรอยู่ใกล้ชิดกันเนื่องจากการติดต่ออย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้ที่ทางานอันเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดกันมากขึ้น
ข.การแบ่งตามหน้าที่
ค.การจัดวางรูปงานและระเบียบการที่ชัดแจ้งแก่ทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้อง
2.การมีโครงการและนโยบายอันสอดคล้องกัน (Harmonized Program and Policies)
3.การมีวิธีติดต่องานภายในองค์การที่ทำไว้ดี (Well –Designed Methods of Communication)
การมีวิธีติดต่องานภายในองค์การที่ทำไว้ดี (Well –Designed Methods of Communication) เครื่องมือที่ช่วยในการติดต่อส่งข่าวคราวละเอียด ได้แก่
ก.แบบฟอร์มในการปฏิบัติงาน (Working Papers)
ข.รายงานเป็นหนังสือ (Written report)
ค.เครื่องมือวิทยาศาสตร์ในการติดต่องาน เช่น ระบบการติดต่อภายใน โรงพิมพ์ เป็นต้น
 4.มีเหตุที่ช่วยให้มีการประสานงานโดยสมัครใจ (Aids to Voluntary Coordination)
เหตุที่ช่วยให้มีการประสานงานโดยสมัครใจ (Aids to Voluntary Coordination) การประสานงานส่วนมากมักจะเกิดขึ้นจากการร่วมมือโดยสมัครใจของบุคลากรในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
 5.การประสานงานโดยวิธีควบคุม (Coordination through Supervision)
หัวหน้างานมีหน้าที่จะต้องคอยเฝ้าดูการดาเนินปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้การดาเนินงานเป็นไปอย่างสอดคล้องและจะต้องใช้วิธีประเมินผลการปฏิบัติงานทุกระยะจะได้ทราบข้อบกพร่องหาทางแก้ไขให้การปฏิบัติงานถูกต้องยิ่งขึ้น

2. เทคนิคการประสานงาน (Techniques Coordination) มีอะไรบ้าง
1.จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารทั้งภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2.การกำหนดอำนาจหน้าที่และตำแหน่งงานอย่างชัดเจน
3.การสั่งการและการมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
4.การใช้คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่ทาหน้าที่ประสานงานโดยเฉพาะการประสานงานภายในองค์การ
5.การจัดให้มีการประสานงานระหว่างพนักงานในองค์การ
6.การจัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา
7.การติดตามผล

3. จงอธิบายอุปสรรคของการประสานงาน มาพอเข้าใจ
            1.การขาดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกันจะกลายเป็นสาเหตุทาให้การติดต่อประสานงานที่ควรดำเนินไปด้วยดี ไม่สามารถกระทำได้
2.การขาดผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารที่มีความสามารถ
3.การปฏิบัติงานไม่มีแผน ซึ่งเป็นการยากที่จะให้บุคคลอื่น ๆ ทราบวัตถุประสงค์และวิธีการในการทำงาน
4.การก้าวก่ายหน้าที่การงาน
 5.การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดีย่อมทำให้การทำงานเป็นระบบที่ดีของความร่วมมือขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
 6.การขาดการนิเทศงานที่ดี
7.ความแตกต่างกันในสภาพและสิ่งแวดล้อม
8.การดำเนินนโยบายต่างกันเป็นอุปสรรคต่อการประสานงาน
9.ประสิทธิภาพของหน่วยงานต่างกันจะเป็นการยากที่จะก่อให้เกิดมีความร่วมมือและประสานงานกันเพราะแสดงว่ามีฝีมือคนละชั้น
10.การทำหน้าที่ความรับผิดชอบและอำนาจไม่ชัดแจ้งทาให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความกังวลใจและอาจไปก้าวก่ายงานของบุคคลอื่นก็ได้
11.ระยะทางติดต่อห่างไกลกัน

12.เทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานในแต่ละหน่วยงานแตกต่างกันเนื่องมาจากการกุมอำนาจหรือการกระจายอำนาจมากเกินไป